วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ผู้จัดทำ

  การทอผ้าไหมบ้านหนองเงือก จังหวัดเชียงใหม่

คณะผู้จัดทำ

1.นางสาวจีรติยา    ทวีสิน   รหัสนักศึกษา      55122606


2.นางสาวเจนจิรา    สีรัตน์   รหัสนักศึกษา      55122607



3.นางสาวฐิติยา       แก้ววิเศษ    รหัสนักศึกษา      55122608 



4.นางสาวสุดาพร    จันทร์ดอนตอง      รหัสนักศึกษา  55122624 




สาขาวิชา สารสนเทศศาสตร์
คณะ  มนุษยศาสตร์และสัมคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

กลุ่มผู้ประกอบการ




นางมาลี กันทาทรัพย์
ที่อยู่ 5 ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน 51120
เบอร์โทร  0-5355-7503

ประวัติความเป็นมา


           


            การทอผ้าเป็นได้รับการถ่ายทอดมีการสั่งสมกันมีเป็นเวลากว่าร้อยปี ฝีมือในการทอผ้าของสตรีบ้านหนองเงือกจึงไม่เป็นรองใครรวมทั้งได้มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่มีลวดลาย สีสันใหม่ๆเป็นไปตามความต้องการของตลาดทำให้บ้านหนองเงือกกลายเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดลำพูนคนในชุมชนในปัจจุบันผ้าทอบ้านหนองเงือกยังมีการรักษาความเป็นเอกลักษณ์ที่เคยทำอย่างสม่ำเสมอแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่เป็นการคิดค้นขึ้นใหม่ด้วยภูมิปัญญาของคนในชุมชนไม่ได้ลอกเลียนแบบจากท้องถิ่นอื่นแต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปลูกหลานของคนในชุมชนแม้ยังคงเห็นการทอผ้าอยู่ตลอดแต่ไม่มีความสนใจที่จะเรียนรู้การทอผ้าเนื่องจากมีกิจกรรมอื่นให้ทำในยามว่างจึงไม่เห็นความสำคัญในการทอผ้าดั้งนั้นปัจจุบันคนในหมู่บ้านหนองเงือกจึงมีการให้ความรู้ในการทอผ้าไหมสืบทอดต่อกันมาเรื่อยๆๆเพื่อไม่ให้การทอผ้าไหมสูญหายไป

วิธีการอนุรักษ์การทอผ้าไหม



1.ให้ความรู้เป็นการวางรากฐานที่มั่นคงในตัวบุคคลในที่นี้หมายถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผ้าทอบ้านหนองเงือกในด้านต่างๆ เช่น ความงดงาม ประโยชน์ใช้สอย ความทนทาน และการเป็นสิ่งที่แสดงของเอกลักษณ์ของชาวเมืองอุบล ที่ควรภาคภูมิใจ การให้ความรู้ดังกล่าวอาจทำได้หลายทางทางเช่น
1.1. ครอบครัว เป็นสถาบันแรกที่มีความสำคัญมากในการทำให้สมาสมาชิกในครอบครัวค่อยๆเกิดความชอบ มองเห็นความงดงามของคุณค่าผ้าทอ โดยแม่มีบทบาทให้ความรู้ ตลอดจนพ่อแม่นำผ้าทอมาใช้ในชีวิตประจำวันและโอกาสพิเศษต่างๆ โรงเรียนหรือสถานศึกษาทุกระดับ ครูนับว่าเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่มีส่วนสนับสนุนให้นักเรียนเกิดความรู้         
1.2. ความเข้าใจและภาคภูมิใจในศิลปหัตถกรรมของท้องถิ่นโดยอาจจะสอนสอดแทรกเข้าไปในวิชาที่เกี่ยวกับสังคมศึกษา ศิลปศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมหรือพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น
1.3. สื่อมวลชน สื่อมวลชนได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น ปัจจุบันเรายอมรับ กันว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อแนวการคิดและการตัดสินใจของประชาชนมาก ฉะนั้น สื่อมวลชนสามารถให้ทั้งความรู้ แสดงให้เห็นถึงความงดงามและประโยชน์ของผ้าทอได้เป็นอย่างดี และมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่ให้ประชาชน
2. การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากรัฐบาลมีภารกิจในการบริหารประเทศด้านต่าง ๆ มากมาย ผ้าทอก็นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเอกลักษณ์ประจำชาติหรือท้องถิ่นที่รัฐควรให้ความสนใจ การสนับสนุนจากรัฐอาจทำได้ดังนี้
2.1 การจัดประชุมสัมมนา โดยเชิญผู้รู้ประจำท้องถิ่นหรือวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องผ้าทอมาให้ความรู้ต่าง ๆ
2.2 การให้ทุนอุดหนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผ้าทอ นับว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ก่อให้เกิดการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาเรื่องผ้าทออย่างแท้จริง
2.3 การประกวดผ้าทอ คิดว่าเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ และถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่เกียรติคุณของผ้าทอได้เป็นอย่างดี
2.4 การรณรงค์การใช้ผ้าทอในหน่วยงานของรัฐ เช่น โรงเรียนเละสถานที่ ราชการบางแห่งอาจจะตกลงกันแต่งกายด้วยผ้าทอ 1 วัน ในแต่ละสัปดาห์ หรือหน่อยงานกันสนับสนุนการใช้ผ้าทอในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนทั่วไป

ขั้นตอนในการทอผ้าไหม




1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง

2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยกออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายให้พุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อยๆ

3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา

4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะ

วัตถุดิบและอุประกรณ์


วัตถุดิบที่ใช้ เป็นผ้าฝ้ายที่ไปซื้อมาจากจังหวัดเชียงใหม่ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ดังนี้

  วัตถุดิบ ที่นิยมนำมาใช้ทอผ้า ได้แก่ ไหม  ฝ้าย 
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า 



 หลอดด้ายค้น


                 หลอดด้ายเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการค้นเส้นด้าย โดยเส้นด้ายทุกเส้นจะถูกม้วนหรือพันเก็บไว้ในหลอดค้น








 ดอกหวิง




                 ดอกหวิง เป็นอุปกรณ์สำหรับหมุนเพื่อกรอเส้นด้ายสี  ต่างๆเข้าหลอดด้าย มีลักษณะคล้ายกังหันลมมีแกนกลางวางบนไม้สองข้าง ส่วนกลางของ ดอกหวิงมี ช่องสำหรับใส่เส้นด้าย








หลักค้น






            หลักค้น เป็นอุปกรณ์สำหรับพันเส้นด้ายที่ค้นตามจำนวนความยาวที่ต้องการมีลักษณะ เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 2 เมตร ยาว 5-8 เมตร ที่หัวหลักค้นมีหลักสูงประมาณ 6 นิ้ว จำนวนประมาณ 20หลักอยู่ทั้งสองด้าน






                                                                       ฟืม