วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีการอนุรักษ์การทอผ้าไหม



1.ให้ความรู้เป็นการวางรากฐานที่มั่นคงในตัวบุคคลในที่นี้หมายถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผ้าทอบ้านหนองเงือกในด้านต่างๆ เช่น ความงดงาม ประโยชน์ใช้สอย ความทนทาน และการเป็นสิ่งที่แสดงของเอกลักษณ์ของชาวเมืองอุบล ที่ควรภาคภูมิใจ การให้ความรู้ดังกล่าวอาจทำได้หลายทางทางเช่น
1.1. ครอบครัว เป็นสถาบันแรกที่มีความสำคัญมากในการทำให้สมาสมาชิกในครอบครัวค่อยๆเกิดความชอบ มองเห็นความงดงามของคุณค่าผ้าทอ โดยแม่มีบทบาทให้ความรู้ ตลอดจนพ่อแม่นำผ้าทอมาใช้ในชีวิตประจำวันและโอกาสพิเศษต่างๆ โรงเรียนหรือสถานศึกษาทุกระดับ ครูนับว่าเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่มีส่วนสนับสนุนให้นักเรียนเกิดความรู้         
1.2. ความเข้าใจและภาคภูมิใจในศิลปหัตถกรรมของท้องถิ่นโดยอาจจะสอนสอดแทรกเข้าไปในวิชาที่เกี่ยวกับสังคมศึกษา ศิลปศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมหรือพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น
1.3. สื่อมวลชน สื่อมวลชนได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น ปัจจุบันเรายอมรับ กันว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อแนวการคิดและการตัดสินใจของประชาชนมาก ฉะนั้น สื่อมวลชนสามารถให้ทั้งความรู้ แสดงให้เห็นถึงความงดงามและประโยชน์ของผ้าทอได้เป็นอย่างดี และมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่ให้ประชาชน
2. การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากรัฐบาลมีภารกิจในการบริหารประเทศด้านต่าง ๆ มากมาย ผ้าทอก็นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเอกลักษณ์ประจำชาติหรือท้องถิ่นที่รัฐควรให้ความสนใจ การสนับสนุนจากรัฐอาจทำได้ดังนี้
2.1 การจัดประชุมสัมมนา โดยเชิญผู้รู้ประจำท้องถิ่นหรือวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องผ้าทอมาให้ความรู้ต่าง ๆ
2.2 การให้ทุนอุดหนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผ้าทอ นับว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ก่อให้เกิดการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาเรื่องผ้าทออย่างแท้จริง
2.3 การประกวดผ้าทอ คิดว่าเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ และถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่เกียรติคุณของผ้าทอได้เป็นอย่างดี
2.4 การรณรงค์การใช้ผ้าทอในหน่วยงานของรัฐ เช่น โรงเรียนเละสถานที่ ราชการบางแห่งอาจจะตกลงกันแต่งกายด้วยผ้าทอ 1 วัน ในแต่ละสัปดาห์ หรือหน่อยงานกันสนับสนุนการใช้ผ้าทอในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น